top of page

Balen(ciaga) I belong by Sareena Sattapon


ว่าไงสายอาร์ต วันนี้เราจะพาทุกคนไปพบกับศิลปะแนว Contemporary Art จากศิลปินรุ่นใหม่กับผลงานที่อยู่ในการสะสมของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ผลงานชิ้นนี้น่าสนใจอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วก็ไปรับชมกันได้เลย!!


What's up, Art Lovers! Today, we're taking you to explore Contemporary Art with works from emerging artists in the collection of the Office of Contemporary Art and Culture. If you're ready, let's go and enjoy!


ผลงาน “Balen(ciaga) I belong” โดย สรีนา สัตถาผล เป็นผลงานศิลปะที่มีแนวคิดเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสังคมและการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายของผู้คนต่างชนชั้น ผลงานนี้ทำให้ผู้ชมมองเห็นและสนใจถึงผู้คนที่แตกต่างจากตนเอง โดยใช้วัสดุและการกระทำเป็นภาพแทนของชนชั้นแรงงานที่มักถูกลืมเลือนในสังคม เรื่องราวและแนวคิดของผลงานชิ้นนี้คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความแตกต่างและความสำคัญของการเชื่อมโยงทุกคนในสังคม เพื่อขับเคลื่อนสังคม ให้เป็นที่ที่ทุกคนสามารถเรียกร้องสิทธิและแสดงความเห็นได้


The artwork "Balen(ciaga) I belong" by Sareena Sattapon, is a piece of art that revolves around the concept of social inclusivity and awareness of the diversity of people from different backgrounds. This work allows viewers to see and appreciate those who are different from themselves, using materials and actions as symbolic representations of the often overlooked laboring class in society. The narrative and concept of this piece aim to raise awareness about differences and the importance of connecting everyone in society, promoting a space where everyone can voice their rights and opinions.


ศิลปินเล่าว่าโปรเจค “Balen(ciaga) I belong” เริ่มขึ้นตอนที่ได้ไปแสดงงานที่นอร์เวย์ในปี 2018 จุดเริ่มต้นของงานนี้เริ่มจากศิลปินอยากทำ Performance ที่เกี่ยวกับความรู้สึก ไม่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ไหน เหมือนชีวิตอยู่ในกระเป๋าที่เอาไปไหนมาไหนด้วย ปี 2019 - 2020 เธอจึงได้เริ่มตั้งคำถามกับวัสดุที่เลือกใช้ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของงานนี้ ที่จะเริ่มเชื่อมโยงกับเรื่องปัญหาทางสังคม สภาพสังคมที่ความเลื่อมล้ำสูงลิ่วและมีคนจำนวนมากที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้ ในปี 2022 ศิลปินได้ย้ายมาอยู่ที่ญี่ปุ่น จึงได้เริ่มพัฒนางานชิ้นนี้แล้วส่งประกวด ตัวงานจึงถูกวางให้เชื่อมโยงกับแรงงานและการอพยพย้ายถิ่นฐาน


The artist explained that the project "Balen(ciaga) I belong" began when she performed at an event in Norway in 2018. The inspiration for this project came from the desire to create a performance related to emotions, not limited by any specific space, reflecting how life can be carried in a pocket and taken anywhere. In the years 2019-2020, the artist started questioning the materials she chose to use, which became the starting point for this project. It aimed to address social issues, particularly the prevalent inequality and the large number of people facing similar situations. In 2022, the artist moved to Japan, where she continued developing this piece and submitted it for competition. The work thus became intertwined with the themes of labor and displacement.


ผลงานนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน Video Performance และ Installation

This work is divided into two parts: Video Performance and Installation.


ใน Video performance จะมีนักแสดงหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นคนที่โยกย้ายถิ่นฐานมาที่ญี่ปุ่น วัสดุหลักคือถุงกระสอบพลาสติกสีสันสดใสที่เอามาจากประเทศไทย ซึ่งครั้งหนึ่งแบรนด์ Balenciaga เคยทำคอลเลคชั่นกระเป๋าออกมาหน้าตาเหมือนถุงสายรุ้ง เพราะดีไซเนอร์มาเที่ยวที่ไทย และได้ภาพจำของถุงสายรุ้งที่เหมือนเป็นอุปกรณ์คู่ชีพของชนชั้นล่าง จึงนำกลับไปดัดแปลงและกลายเป็นสินค้าไฮเอนด์ที่คนอย่างเราๆไม่มีทางเอื้อมถึง ซึ่งศิลปินคิดว่ามันเป็นอะไรที่น่าขำขื่น กลายเป็นว่าเราเห็นปัญหาสังคมผ่านวัสดุนี้ อีกหนึ่งวัสดุหลักก็คือนั่งร้านเหล็กที่เรามักจะเห็นตามไซต์ก่อสร้าง ซึ่งความน่าสนใจของมันคือการมีอยู่ของนั่งร้านเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งก่อสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ เมื่อสิ่งก่อสร้างพวกนั้นถูกใช้งาน ทั้งนั่งร้านและผู้คนที่สร้างมันขึ้นมาก็หายไปราวกับว่าไม่เคยมีอยู่


In the Video Performance, there are diverse actors, mostly individuals who have migrated to Japan from various ethnic backgrounds. The main material used is vibrant plastic woven bags, sourced from Thailand. Once, the fashion brand Balenciaga released a collection of bags resembling these rainbow-colored plastic bags, inspired by designers' travels to Thailand. These bags, resembling everyday items for the lower class, were transformed and turned into high-end products inaccessible to people like us. The artist found this transformation amusing and saw it as a commentary on societal issues. Another prominent material used is the metal stools commonly seen at construction sites. The intriguing aspect of these stools lies in their temporary existence before being replaced by the completed structures. When these structures are utilized, both the stools and the people who created them vanish, as if they never existed.

.


ในส่วนของ Performance จะมาจากสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวัน ทั้งการนอน นั่ง เดิน ทำงาน เป็นสถานการณ์ที่ศิลปินพยายามจำลองขึ้น และนักแสดงทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการทำงานให้จบ ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำบรรยาย และการแสดงค่อนไปทาง Abstract แต่สุดท้ายแล้วคนดูจะสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวเองได้ ตัว Installation เป็นเหมือนร่องรอยจากการ Performance คือเมื่อการแสดงจบ โครงสร้างนั่งร้านกับถุงสายรุ้งจะถูกจัดวางและกลายมาเป็นงาน Installation ที่มีจอแสดงภาพ Video performance ติดตั้งเข้าไปอีกที คนดูสามารถรับรู้ได้ว่าผลงานด้านหน้าถูกสร้างขึ้นมาได้ยังไงผ่านวิดีโอ แต่การจะนำเสนอไปตรงๆ ก็ดูไม่ค่อยเข้ากับแนวคิดของงานเท่าไหร่ ศิลปินจึงใช้จอแบบพิเศษที่แม้ว่าคุณจะยืนอยู่ตรงหน้า รับรู้ได้ว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นตรงหน้า แต่จะไม่สามารถมองเห็นได้ เหมือนกับที่เรามองไม่เห็นหรือไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของคนในอีกชนชั้น การจะมองเห็นได้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ คือ ฟิลเตอร์สำหรับจอชนิดนี้ ไม่ต่างอะไรกับ ‘ศิลปะ’ ที่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่อาจจะทำให้เรามองเห็นอะไรๆ ที่เคยมองไม่เห็น มาก่อนได้


In the context of performance, it comes from our daily activities such as sleeping, sitting, walking, and working. These situations are attempts by artists to simulate, and every actor shares the same goal: to complete the task. Even without description and tending towards abstraction, viewers can ultimately interpret the narrative for themselves. The installation is akin to footsteps from the performance. When the performance ends, the structure of chairs and rainbow-colored bags is arranged, transforming into an installation piece. Video performance visuals are incorporated again. Viewers can perceive how the front piece was created through the video. However, a direct presentation might not align well with the concept of the work. Therefore, artists use special screens so that even though you stand right in front, you can sense that something is happening, but you cannot see it. It's similar to how we may not see or acknowledge the existence of people in another social stratum. To see, tools are necessary, like filters for this type of screen. It's no different from 'art', which is a tool that might allow us to see things we never saw before.


โดโจ สรีนา สัตถาผล เกิดปี พ.ศ.2535 จบการศึกษาระดับปริญญาโท คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่มีความหลากหลายในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และมีความเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงออกความคิดและความรู้สึกผ่านศิลปะ


Dojo - Sareena Sattapon, born in the year 1992, completed her master's degree in Fine Arts at the Faculty of Painting, Sculpture, and Graphic Arts, Silpakorn University. She is a young Thai artist with a diverse approach to creating art and a unique expression of thoughts and emotions through her art.

.


ผลงาน "Balen(ciaga) I belong" โดย โดโจ สรีนา สัตถาผล เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ "2023 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture" ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมและจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินรุ่นใหม่ให้กับประชาชนและนักศึกษาเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและคุณค่าของงานศิลปะทั้งด้านสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยในอนาคต


Her work, "Balen(ciaga) I belong," is part of the exhibition "2023 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture" organized by the Contemporary Art and Cultural Office. The exhibition aims to collect and showcase contemporary art from emerging artists for the public and students to study, explore, and learn about the societal, historical, and aesthetic aspects of art. This initiative supports the development of contemporary art in Thailand for the future.


.

นิทรรศการ 2023 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม – 17 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 – 16.30 น. ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร สายอาร์ตห้ามพลาดเด็ดขาด!


The 2023 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture Exhibition is open for viewing every day (except Mondays and public holidays) from October 20th to December 17th, 2023, from 10:00 AM to 4:30 PM, The exhibition takes place at Gallery Room 4, 1st Floor, National Art Gallery Building, Ministry of Culture, Tiem Ruammit Road, Huai Khwang Subdistrict, Huai Khwang District, Bangkok. Art enthusiasts must not miss this event!

.

.

__________

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Art Tank Group บริการด้านศิลปะ ครบวงจร

ประมูลศิลปะ ขนส่งและติดตั้งศิลปะ อนุรักษ์งานศิลปะ สื่อและอีเวนท์ศิลปะ

ติดต่อ : 061-626-4241

Art Tank Group offers comprehensive services to the Art Ecosystem (Art auction, Art Handling, Art conservation, media, and events) https://www.arttankgroup.co.th

Contact number: 061-626-4241


ดู 21 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page